ข้อมูลบทความ
ปี 2006 ปีที่ 56 ฉบับที่ 1 หน้า 52-63
Title:
โรคราแคนดิดาในช่องปาก ตอนที่1: ลักษณะทางคลินิก และสาเหตุของการเกิดโรค
Author(s):
อรนาฎ มาตังคสมบัติ
Keyword(s):
Candida, etiology, oral candidiasis
Abstract:
โรคราแคนดิดาเป็นรายโรคในช่องปากที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดาซึ่งปกติเป็นเชื่อที่พบอยู่ในช่องปากได้โดยไม่ก่อโรค แต่มีปัจจัยชักนำหลายอย่าง ทั้งปัจจัยเฉพาะที่และทางระบบ ที่อาจเอื้ออำนวยให้เชื้อนี้ก่อโรคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง การเพิ่มจำนวนของประชาการที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมะเร็งและโรคร้ายแรงอื่นๆ อาจมีส่วนทำให้ความชุกของโรคราแคนดิดาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา รอยโรที่เกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากมีหลายลักษณะ ทำให้วินิจฉัยได้ยากในบางครั้ง รอยโรคในช่องปากเหล่านี้มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดแสบปวดร้อยและรับประทานอาหารได้ลำบาก ส่งผลร้ายต่อสุขภาพโดยรวมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย นอกจากนั้น การติดเชื้อแคนดิดายังอาจสะท้องถึงความผิดปกติในระบบของร่างกายซึ่งในบางครั้งอาจยังไม่รับการวินิจฉัยมาก่อนอีกด้วย ดังนั้น ทันตแพทย์จึงมีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัยโรค และดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม ทั้งในแง่การแก้ไขปัจจัยเฉพาะที่และการร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาภาวะทางระบบที่ส่งผลต่อการติดเชื้อ บทความในตอนที่ 1 นี้จะกล่าวถึงลักษณะรอยโรคติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปากที่ทันตแพทย์อาจพบได้ในคลินิก การวินิจฉัยโรค และสาเหตของการเกิดโรคทั้งในด้านปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรค เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคและศักยภาพก่อโรคของเชื้อ ส่วนแนวทางในการรักษาและยาต้านเชื้อราที่มีในปัจจุบันจะได้กล่าวถึงในบทความตอนที่ 2 ต่อไป