ข้อมูลบทความ
Title:
โพลิเมอร์ฟัสโลว์เกรดอะดิโนคาร์ซิโนมาของเพดานช่องปาก: รายงานผู้ป่วย 1 ราย และการศึกษาเปรียบเทียบกับอะดินอยด์ ซิสติกคาร์ซิโนมาโดยเทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมี
Keyword(s):
adenoid cystic carcinoma, immunohistochemistry, polymorphous low-grade adenocarcinoma
Abstract:
โพลิเมอร์ฟัสโลว์เกรดอะดิโนคาร์ซิโนมา (PLGA) เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงของต่อมน้ำลายที่พบได้ไม่บ่อย ซึ่งอาจมีลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาใกล้เคียงกับเนื้องอกชนิดอะดินอยด์ซิสติกคาร์ซิโนมา (ACC) ดังนั้นการให้การวินิจฉัยแยกโรคระหว่างเนื้องอกทั้งสองชนิดจึงทำได้ค่อนข้างยาก ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการรายงานผู้ป่วยหนึ่งรายที่เป็น PLGA และได้มีการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการติดสีระหว่าง PLGA กับ ACC โดยเทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมี ผู้ป่วยเป็นหญิงไทยอายุ 52 ปี มาพบทันตแพทย์ด้วยอาการมีก้อนที่บริเวณเพดานปากข้างขวาซึ่งไม่มีอาการเจ็บปวด จากการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเนื้องอกดังกล่าวมีลักษณะสำคัญทางจุลพยาธิวิทยาตรงกับ PLGA ต่อมาผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการตัดกระดูกขากรรไกรบนออกไปเป็นบางส่วนโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน และจากการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 2 ปี ผู้ป่วยแข็งแรงดีและไม่พบว่ามีการกลับเป็นซ้ำใหม่ของ PLGA ผลของการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการติดสีระหว่าง PLGA กับ ACC โดยใช้เทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมี พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างเนื้องอกทั้งสองชนิดนี้ การศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตโดยการใช้แอนติบอดีชนิดอื่นที่เหมาะสมอาจมีประโยชน์ในการแยกเนื้องอกทั้งสองชนิดออกจากกันได้โพลิเมอร์ฟัสโลว์เกรดอะดิโนคาร์ซิโนมา (PLGA) เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงของต่อมน้ำลายที่พบได้ไม่บ่อย ซึ่งอาจมีลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาใกล้เคียงกับเนื้องอกชนิดอะดินอยด์ซิสติกคาร์ซิโนมา (ACC) ดังนั้นการให้การวินิจฉัยแยกโรคระหว่างเนื้องอกทั้งสองชนิดจึงทำได้ค่อนข้างยาก ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการรายงานผู้ป่วยหนึ่งรายที่เป็น PLGA และได้มีการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการติดสีระหว่าง PLGA กับ ACC โดยเทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมี ผู้ป่วยเป็นหญิงไทยอายุ 52 ปี มาพบทันตแพทย์ด้วยอาการมีก้อนที่บริเวณเพดานปากข้างขวาซึ่งไม่มีอาการเจ็บปวด จากการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเนื้องอกดังกล่าวมีลักษณะสำคัญทางจุลพยาธิวิทยาตรงกับ PLGA ต่อมาผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการตัดกระดูกขากรรไกรบนออกไปเป็นบางส่วนโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน และจากการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 2 ปี ผู้ป่วยแข็งแรงดีและไม่พบว่ามีการกลับเป็นซ้ำใหม่ของ PLGA ผลของการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการติดสีระหว่าง PLGA กับ ACC โดยใช้เทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมี พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างเนื้องอกทั้งสองชนิดนี้ การศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตโดยการใช้แอนติบอดีชนิดอื่นที่เหมาะสมอาจมีประโยชน์ในการแยกเนื้องอกทั้งสองชนิดออกจากกันได้