Title:
ผลของความแห้งของเนื้อฟันต่อค่ากำลังแรงยึดเฉือนของเซลฟ์แอดฮีซีพเรซินซีเมนต์
Author(s):
อวิรุทธ์ คล้ายศิริ, จารุพรรณ อุ่นสมบัติ, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล
Keyword(s):
เนื้อฟันในสภาวะที่แห้งหรือชื้น, เซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์, กำลังแรงยึดเฉือน
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกำลังแรงยึดเฉือนของเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์กับเนื้อฟัน เมื่อผิวเนื้อฟันอยู่ในสภาวะที่แห้ง หรือชื้น โดยนำฟันกรามแท้ของมนุษย์จำนวน 80 ซี่ ตัดด้านบดเคี้ยวออกจนถึงชั้นเนื้อฟัน ใช้เซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รีไลเอ็กซ์ยูร้อย (RU1) รีไลเอ็กซ์ยูสองร้อย (RU2) แม็กเซมอีลิต (MC) และเคลียร์ฟิลเอสเอลูตทิง (CL) แบ่งโดยสุ่มเป็น 8 กลุ่ม (N = 10) ได้แก่ 1) RU1 + Dry, 2) RU1 + Moist, 3) RU2 + Dry, 4) RU2 + Moist, 5) MC + Dry, 6) MC + Moist, 7) CL + Dry, 8) CL + Moist. ใช้แผ่นเทปกาวหน้าเดียวที่เจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร ติดบนผิวเนื้อฟันที่เตรียมไว้ นำแท่งเรซินคอมโพสิตที่บ่มตัวด้วยแสงแล้ว มายึดติดกับเนื้อฟันด้วยเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ในแต่ละกลุ่ม โดยใช้น้ำหนักกด 1000 กรัม ทำการฉายแสงด้านละ 40 วินาที เก็บชิ้นงานในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นงานไปทดสอบเพื่อหาค่ากำลังแรงยึดเฉือน ด้วยเครื่องทดสอบสากลระบบไฮโดรลิกที่ความเร็วหัวกดเท่ากับ 0.5 มิลลิเมตร/นาที บันทึกแรงที่ทำให้เซลฟ์แอดฮีซีเรซินซีเมนต์หลุดออกจากเนื้อฟัน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ความแปรปรวนแบบสองทาง และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ด้วยการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่ากำลังแรงยึดเฉือนของเรซินซีเมนต์ผลิตภัณฑ์เดียวกัน เมื่อเนื้อฟันอยู่ในสภาวะที่แห้ง หรือชื้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่กำลังแรงยึดเฉือนกับเนื้อฟันที่แห้ง หรือชื้น ของรีไลเอ็กซ์ยูร้อย รีไลเอ็กซ์ยูสองร้อย และแม็กเซมอีลิต มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่สูงกว่าเคลียร์ฟิลเอสเอลูตทิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และรูปแบบการแตกหักที่พบภายหลังจากการทดสอบกำลังแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์กับเนื้อฟัน เป็นการแตกหักบริเวณรอยต่อระหว่างเนื้อฟันกับเรซินซีเมนต์ร้อยละ 100 ในทุกกลุ่มการทดลอง จึงสรุปได้ว่ากำลังแรงยึดเฉือนเมื่อเนื้อฟันอยู่ในสภาวะที่แห้ง หรือชื้น ของซีเมนต์ผลิตภัณฑ์เดียวกัน มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนกำลังแรงยึดเฉือนเมื่อเนื้อฟันอยู่ในสภาวะที่แห้ง หรือชื้น ของรีไลเอ็กซ์ยูร้อย [dry 9.42(1.32), moist 9.06(1.21)] รีไลเอ็กซ์ยูสองร้อย [dry 9.30(1.29), moist 9.27(0.98)] และแม็กเซมอีลิต [dry 9.14(1.23), moist 8.23(1.61)] มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่สูงกว่าเคลียร์ฟิลเอสเอลูตทิง [dry 4.32(1.44), moist 4.84(1.76)] อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) รูปแบบ การแตกหักที่พบภายหลัง จากการทดสอบกำลังแรงยึด เฉือนระหว่าง เรซินซีเมนต์กับเนื้อฟัน เป็นการแตกหักบริเวณรอยต่อระหว่างเนื้อฟันกับเรซินซีเมนต์ร้อยละ 100 ในทุกกลุ่มการทดลอง จึงสรุปได้ว่า กำลังแรงยึดเฉือนเมื่อเนื้อฟันอยู่ในสภาวะระหว่างเนื้อฟันกับเรซินซีเมนต์ร้อยละ 100 ในทุกกลุ่มการทดลอง จึงสรุปได้ว่า กำลังแรงยึดเฉือนเมื่อเนื้อฟันอยู่ในสภาวะที่แห้ง หรือชื้น ของซีเมนต์ผลิตภันฑ์เดียวกัน มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนกำลังแรงยึดเฉือนเมื่อเนื้อฟันอยู่ในสภาวะที่แห้ง หรือชื้น ของรีไลเอ็กซ์ยูร้อย รีไลเอ็กซ์ยูสองร้อย และแม็กเซมอีลิต มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่สูงกว่าเคลียร์ฟิลเอสเอลูตทิง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ