ข้อมูลบทความ
ปี 2010 ปีที่ 60 ฉบับที่ 1 หน้า 55-65
Title:
สมบัติทางกลและโครงสร้างทางจุลภาคของตะขอโลหะเหวี่ยง โคบอลต์-โครเมียมที่นำกลับมาใช้ซ้ำ
Keyword(s):
circumferential clasp, cobalt-chromium alloy, used cobalt-chromium alloy
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกลและโครงสร้างทางจุลภาคของ ตะขอโอบฟันโลหะผสมโคบอลต์-โครเมียมที่นำโลหะเก่ากลับมาใช้ซ้ำในสัดส่วนของโลหะ เก่าและโลหะใหม่ร้อยละ 50.0 โดยน้ำหนัก ชิ้นงานตัวอย่างตะขอโอบฟันที่ทำจากโลหะเจือ โคบอลต์-โครเมียม จำนวน 3O ชิ้น ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น โดยกลุ่มที่ 1 ทำจากโลหะใหม่ทั้งหมด กลุ่มที่ 2 ทำจากโลหะใหม่ร้อยละ 50 ผสมกับโลหะเก่าร้อยละ 50.0 และกลุ่มที่ 3 ทำจากโลหะเก่าทั้งหมด โดยโลหะเก่าที่ใช้ผ่านการหลอมมาแล้ว 1 ครั้งเท่านั้น นำชิ้นงานมาทดสอบด้วยเครื่องทดสอบสากล ความเร็วหัวกด 0.5 มม. ต่อนาที บันทึกแรง ที่ทำให้ชิ้งานหัก และแรงที่ทำให้ชิ้นงานเปลี่ยนรูปอย่างถาวร นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบเชิงซ้อนโดยใช้สถิติ แบบแอลเอสดีที่ระดับนัยสำคัญ .05 สุ่มเลือกชิ้นงานกลุ่มละ 3 ชิ้น มาตรวจดูลักษณะพื้นผิว ที่แตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และวิเคราะห์ธาตุด้วยเทคนิคอีดีเอส ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของแรงที่ทำให้ชิ้นงานหักของชิ้นงานตะขอทั้งสามกลุ่มไม่มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ค่าเฉลี่ยของแรงที่ทำให้ชิ้นงานเปลี่ยน รูปอย่างถาวรของตะขอที่ทำจากโลหะใหม่ทั้งหมดไม่แตกต่างกับตะขอที่ทำจากโลหะใหม่ ร้อยละ 50.0 ผสมกับโลหะเก่าร้อยละ 50.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีค่าสูงกว่าตะขอ ที่ทำจากโลหะเก่าทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) จากการศึกษาลักษณะของ พื้นผิวที่แตกหักของชิ้นงานจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบสิ่งปนเปื้อน เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของโลหะเก่าที่นำมาใช้ซ้ำ โดยสรุปคือการนำโลหะเจือโคบอลต์-โครเมียม กลับมาใช้ซ้ำ มีผลทำให้สมบัติทางกลของชิ้นงานตะขอต่ำลง ซึ่งสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจาก การแทรกตัวของสิ่งปนเปื้อนในโลหะเพิ่มมากขึ้น